ทำความรู้จักปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงและสัญญาณเตือนเมื่อรถมีปัญหา
หลายๆท่านอาจจะยังไม่รู้จักหรือสงสัยเกี่ยวกับ หรือบางท่านอาจจะรู้มาบ้างแล้วแต่ก็เพียงผิวเพิน ไม่ได้รู้ลึกถึงว่าปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีความสำคัญต่อเครื่องยนต์อย่างไร และปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงทำอะไรได้? และคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่าจะดูแลปั๊มเชื้อเพลิงอย่างถูกวิธีอย่างไร วิธีใช้งานอย่างไรที่ช่วยให้มีอายุยืนยาวและมีประสิทธิภาพ วันนี้ โรงเรียนสอนขับรถศรีสะเกษ จะมาแนะนำปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมรวมถึงความเข้าใจในการรักษาที่จะช่วยถนอมอายุการใช้งานให้นานขึ้น
หน้าที่ของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง
ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel pump) เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายเชื้อเพลิงไปยังห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาปภายในด้วยแรงดัน สามารถจำแนกได้หลายประเภทตามลักษณะการทำงานของปั๊มเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์เบนซิน ปั๊มเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งอาจจะติดตั้งภายในถังเชื้อเพลิงหรือภายนอก หรือ ติดตั้งอยู่ที่เครื่องยนต์
นอกจากนี้ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องสามารถจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณที่เหมาะสม ก็ยังต้องสามารถสร้างแรงดันที่เหมาะสมได้ แม้ว่าปั๊มเชื้อเพลิงจะมีหลักการทำงานเป็นของตัวเอง มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้อนเชื้อเพลิงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ปั๊มเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากปั๊มเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์เป็น “ต้นน้ำ” จึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญสำหรับระบบเชื้อเพลิงทั้งหมด หากปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงมีปัญหาก็ส่งผลโดยตรงต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์
ชนิดและองค์ประกอบของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง
- 1. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบแถวเรียง (in-line pump)
ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบอินไลน์ (in-line pump) เป็นปั๊มฉีดเชื้อเพลิงที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1 สูบถึง 12 สูบ โดยมีจำนวนปั๊มเท่ากัน (1 ปั๊มต่อสูบ) เท่ากับจำนวนกระบอกสูบในเครื่องยนต์ ขนาดเครื่องยนต์ ปั๊มขับเคลื่อนด้วยเฟืองและเพลา ซึ่งจะประกอบด้วย
- กัฟเวอร์เนอร์ (Governor) มีหน้าที่ในการควบคุมการจ่ายน้ำมันให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ในขณะนั้น โดยการปรับปริมาณการฉีดของน้ำมันเชื้อเพลิงสภาวะของเครื่องยนต์เพื่อควบคุมความเร็วรถยนต์ ควบคุมการจ่ายน้ำมันให้รอบเครื่องยนต์เดินเบาและรอบสูงสุดให้คงที่
- ไทเมอร์อัตโนมัติ (Automatic Timer) มีหน้าที่ในการเร่งการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้สอดคล้องกับความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นเมื่อมีการเร่งเครื่อง และเพียงพอต่อความต้องการของเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางและขับเคลื่อนด้วยเพลาลูกเบี้ยวของปั๊ม
- ปั๊มดูดน้ำมัน (Feed Pump) ทำหน้าที่ในการดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังน้ำมันผ่านกรองน้ำมันเชื้อเพลิง
- ตัวปั๊ม (Pump Body) หน้าที่ของตัวปั๊มนั้นจะเป็นกลไกที่ช่วยสร้างแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงและกลไกควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงอีกทั้งยังทำหน้าที่ส่งน้ำมันไปให้กับกระบอกสูบของแต่ละสูบ
- 2. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบจานจ่าย (distributor pump)
ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบจานจ่าย (Distributor Pump) เป็นปั๊มที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดแรงดันเชื้อเพลิงแรงดันสูงซึ่งจ่ายเชื้อเพลิงไปยังกระบอกสูบทั้งหมดพร้อมกันผ่านท่อแรงดันสูงสายเดียว ขึ้นอยู่กับจังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ประกอบด้วย Governor, Timer และปั๊มดูดน้ำมัน โดยจะมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูง เร่งความเร็วได้เร็ว และหล่อลื่นด้วยน้ำมันดีเซล จึงไม่ยากที่จะรักษา ส่วนใหญ่มักใช้ในรถกระบะ รถยก รถแทรกเตอร์ ฯลฯ. ภายในมีส่วนประกอบคล้ายกับแบบแรก
- 3. ปั๊มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคอมมอนเรล (common rail pump)
ปั๊มเชื้อเพลิงคอมมอนเรลส่วนใหญ่ควบคุมโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์และติดตั้งระบบจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล ปัจจุบันรถกระบะใหม่ทั้งหมดใช้ระบบนี้ ในประเภทคอมมอนเรล อุปกรณ์หลักคือปั๊มแรงดันสูงเพราะสามารถสร้างแรงบิดและแรงม้าได้สูง อาจสร้างแรงดัน 1600-1,800bar ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต
ในระบบนี้ ปั๊มแรงดันสูงจะปั๊มน้ำมันไปยังคอมมอนเรล หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) ใช้ในการคำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมของการจ่ายน้ำมันเพื่อให้น้ำมันมีแรงดันเท่ากันในทุกกระบอกสูบ และ ECU รับค่าจากเซ็นเซอร์ต่างๆ เซ็นเซอร์ตำแหน่งแป้นคันเร่ง ฯลฯ ความเร็วรอบเครื่องยนต์ อุณหภูมิของน้ำ แรงดันเทอร์โบอุณหภูมิ ฯลฯ
สัญญาณเตือนว่าควรเปลี่ยนปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง
หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของปั๊มเชื้อเพลิงแล้ว จากนั้นก็มาถึงคราวที่ต้องรู้วิธีตรวจสอบว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนปั๊มเชื้อเพลิงหรือไม่ และต่อไปนี้เป็นวิธีการสังเกตง่ายๆ ดังต่อไปนี้
- 1. หากพบว่า…เครื่องยนต์สั่น
สำหรับอันดับแรก ที่เป็นตัวชี้วัดว่าปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงของเรานั้นมีปัญหานั่นก็คือ เครื่องยนต์เกิดอาการสั่นในขณะขับขี่รถยนต์ด้วยความเร็วที่สูง (แบบคงที่) โดยจะมีอาการสั่นแล้วกลับมาเป็นปกติ ก็เนื่องจากตัวปั๊มกำลังพยายามที่จะดึงเชื้อเพลิงที่อยู่ในถังน้ำมันมาจ่ายให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่กำลังทำงานอยู่
- 2. หากพบว่า…อุณหภูมิเพิ่มขึ้น
ในส่วนต่อมาก็จะเป็นในส่วนของอุณหภูมิเครื่องยนต์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สามารถบ่งบอกได้ถึงอาการของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงว่าเกิดปัญหาได้เช่นกัน ดังนั้นควรหมั่นใส่ใจกับมาตรวัดบนหน้าปัดอยู่เสมอ เพราะถ้าหากความร้อนสูงขึ้นและรถมีอาการหยุดกลางคันแสดงว่ามอเตอร์ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงกำลังเกิดมีปัญหา เนื่องจากสาเหตุที่ปั๊มเริ่มเสื่อมสภาพลงนั้นเอง และจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่อย่างเร่งด่วนเพื่อการใช้งานได้อย่างปกติ
- 3. หากพบว่า…รถสูญเสียกำลัง
สำหรับบางคนที่ต้องขับรถขึ้นทางลาดชันบ่อยๆ หรือแม้แต่รถที่มีการบรรทุกน้ำหนักเยอะๆ ก็อาจจะส่งผลให้ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงเสื่อมสภาพได้เหมือนกัน เพราะเมื่อเกิดการดึงสมรรถนะของรถมาใช้ในการขึ้น ลง ทางลาดชันหรือบรรทุกของที่มีน้ำหนักเยอะๆ ปั๊มก็จะทำการดึงน้ำมันไปจ่ายให้เครื่องยนต์เยอะขึ้น เร็วขึ้น และทำให้รถอาจสูญเสียกำลังไป เมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นแล้วจะทำให้ไม่สามารถดึงน้ำมันให้ทันกับความต้องการของเครื่องยนต์ได้ และทำให้เกิดการสูญเสียกำลังโดยรวมนั่นเอง
- 4. หากพบว่า…เปลืองน้ำมัน
สำหรับปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีวาล์วจำกัดแรงดัน ซึ่งถ้าหากว่าปั๊มเกิดมีปัญหาแล้วไม่สามารถเปิดวาล์วนั้นได้ ก็อาจจะทำให้เชื้อเพลิงนั้นไหลเข้าสู่ระบบเครื่องยนต์มากกว่าปกติ และเมื่อพบว่าเกิดอาการนี้บ่อยๆ จะทำให้ผลที่ตามมาก็คือ การสิ้นเปลืองน้ำมันที่มากกว่าปกติ
- 5. หากพบว่า…สตาร์ทไม่ติด
หากใครที่ปล่อยให้ปัญหาข้างต้นเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาที่เครื่องยนต์นั้นงอแง ไม่ยอมทำงาน หรือ เรียกอีกอย่างว่าสตาร์ทไม่ติด เพราะเนื่องจากปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงทำงานผิดปกติก็ทำให้น้ำมันไม่สามารถเข้าไปยังเครื่องยนต์ได้เมื่อมีการจุดระเบิด
วิธีดูแลรักษาปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง
พูดถึงวิธีการสังเกตุเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงไปแล้วว่าสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่ไม่ควรละเลย ดังนั้นขั้นตอนต่อไปก็คือวิธีการดูแลรักษาว่าจะต้องทำยังไงเพื่อสามารถหลีกเลี่ยงอาการเบื้องต้นนี้ได้ เพราะว่าระบบเชื้อเพลิงนั้นเป็นระบบที่มีความละเอียดอ่อนอีกทั้งยังซับซ้อนอีกด้วย ซึ่งการเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาปั๊มจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย
- 1. ไม่ควรปล่อยให้น้ำมันเหลือน้อยจนถึงขีดสุดท้าย
จากเบื้องต้นที่ได้มีการอธิบายไปบ้างแล้วว่า น้ำมันเชื้อเพลิง นั้นนอกจากจะมีหน้าที่ในการระบายความร้อนให้ปั๊มแล้ว อีกหน้าทีก็คือ ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในให้ภายในปั๊มด้วย ซึ่งถ้าหากว่าในถังน้ำมันมีน้ำมันน้อยจนเกินไปก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อการระบายความร้อน และหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อย ๆ ก็จะทำให้ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงพังไปในที่สุด
- 2. ควรเติมน้ำมันคุณภาพสูง
อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรจะละเลยนั่นก็คือการเลือกเติมน้ำมันที่มีคุณภาพสูงจากแหล่งปั๊มน้ำมันที่เชื่อถือได้ การเติมน้ำมันคุณภาพสูงจากปั๊มน้ำมันที่เชื่อถือได้ เพราะนอกจากจะช่วยการันตีเรื่องความสะอาดของน้ำมันแล้ว ก็ยังช่วยคัดกรองน้ำมันคุณภาพต่ำที่มักจะมีสิ่งสกปรกและมีสิ่งแปลกปลอมที่ปนน้ำมันมากจนเกินไป และยังจะทำให้ชิ้นส่วนภายในของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์เกิดความสึกหรอได้เร็วกว่าปกติอีกด้วย นอกจากนี้น้ำมันที่ไม่มีคุณภาพยังอาจทำให้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดการอุดตันได้เร็วกว่าปกติอีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับเทคนิคเบื้องต้นเล็กๆ น้อยๆ สำหรับเรื่องปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำมาฝากในวันนี้ นอกจากการทำความสะอาดดูแลรถยนต์ในส่วนต่างๆ หรือเรื่องอื่นๆ แล้ว ส่วนประกอบภายในที่สำคัญอย่าง “ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้รถยนต์แล่นฉิว วิ่งเร็ว แซงทางโค้งได้อย่างปกติ อย่าลืมหมั่นเช็กเครื่องยนต์ก่อนทุกครั้งและดูแลรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งานให้อยู่กับเราไปนานๆ นะครับ